วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

 หน่วยที่1 หลักการของตารางทำงาน


         โปรแกรมตารางทำงาน (Speadsheet) เป็น โปรแกรมเกี่ยวกับการคำนวณ ประเภทกระดาษทำการ หรือ กระดาษอิเลคทรอนิกส์ นิยมใช้ในงานด้านบัญชี การเงิน ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย และด้านคณิตศาสตร์ เป็นต้น

1.1 ลักษณะการทำงานของโปรแกรมตารางทำงาน
         ลักษณะการทำงานของโปรแกรมตารางทำงานที่เป็นเสมือนกระดาษอิเลคทรอนิกส์ ที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเมื่อเปรียบเทียบกับโต๊ะทำงานในสำนักงานแล้ว สามารถสรุปได้ดังตารางและภาพ ดังนี้

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับโต๊ะทำงาน

การทำงานของโปรแกรมตารางทำงาน                    โต๊ะทำงานในสำนักงาน
จอภาพ                                                                               ช่องหน้าต่าง/กระดาษ
หน่วยความจำของเครื่อง                                                    ที่เก็บเอกสาร
สมุดงาน                                                                             แฟ้มเอกสาร
แผ่นงาน                                                                             กระดาษทำการ
แป้นพิมพ์                                                                            ปากกา ดินสอ ยางลบ
หน่วยประมวลผล                                                                เครื่องคิดเลข






รูปที่ 1.1 สภาพโต๊ะทำงานทั่วไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อใช้งานตารางทำงาน

 1.1.1 ลักษณะของตารางทำงาน
          โปรแกรมตารางทำงานไมโครซอฟเอ็กเซล คือ โปรแกรมที่มีรูปแบบเป็นตาราง 2 มิติ ขนาดใหญ่มากได้กำหนดรูปแบบพื้นที่สำหรับกรอกข้อมูล โดยแบ่งเป็นสดมภ์ (Column) และแถว (Row) เรียกว่า ตารางทำงาน และเพื่อให้สามารถอ้างอิงตำแหน่งข้อมูลได้ จึงมีการกำหนดชื่อในแนวสดมภ์เป็น A, B, C, … , IV จำนวน 256 สดมภ์ และในแนวแถวเป็น 1,2,3,…, 65536 ตำแหน่งที่สดมภ์และแถวตัดกันเป็นช่อง เรียกว่า เซล (cell) ซึ่งการทำงาน  กับโปรแกรมตารางทำงานคือการสร้างงานในเซลต่าง ๆ นั่นเอง แต่ละเซลจะมีชื่อกำกับอยู่ โดยเรียกตามตัวอักษรของสดมภ์ตามด้วยตัวเลขของแถว เช่น เซลแรกของเอกสารมีชื่อว่า A1 เซลสุดท้ายมีชื่อว่า IV65536



1.1.2 ความเป็นมาของโปรแกรมตารางทำงาน
         โปรแกรมตารางทำงานหรือ Spread Sheet เป็นโปรแกรมที่เริ่มต้นเมื่อกว่ายี่สิบปีมาแล้ว จากการใช้งานด้านการคำนวณตัวเลข โปรแกรมตารางทำงานในระยะแรก เช่น VisiCalc, SuperCalc, Mutiplan, Lotus ฯลฯ ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถและการใช้งานให้มีขอบเขตกว้างขึ้น และจากความสามารถทางด้านกราฟฟิกของระบบ Windows ทำให้โปรแกรมตารางทำงานเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสรุปความเป็นมาของโปรแกรมตารางทำงานตามลำดับดังนี้
        
 1. ตารางทำงานวิสิแคลค์

         วิสิแคลค์เป็นโปรแกรมตารางทำงานที่ยึดหลักว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมมาก่อนเลย การใช้งานจึงทำได้ง่าย ในเดือนพฤษภาคม 2522 บริษัทวิสิคอร์ป (ต่อมาเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัทเพอชันนอลซอฟต์แวร์) ได้ประกาศแนะนำโปรแกรมตารางทำงานโปรแกรมหนึ่ง ชื่อ วิสิแคลค์ (Visicalc) สำหรับใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แอปเปิล และในปีต่อมาก็ได้ประกาศขายวิสิแคลค์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เรดิโแชค TRS80 โดยมีราคาขายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ 2000 บาทต่อโปรแกรมโครงสร้างของโปรแกรมวิสแคลค์ใช้หน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บเสมือนจดลงบนแผ่นกระดาษ วิสิแคลค์ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำเพียง 48 กิโลไบต์  ตารางทำงานของวิสิแคลค์มีขนาด 63 สดมภ์ โดยใช้ชื่อสดมภ์เป็น A, B,… ส่วนแถวนั้นแบ่งได้ 254 แถว โดยใช้ชื่อแถว 1,2,…





2. ตารางทำงาน ซูเปอร์แคลค์

         บริษัทซอร์ซิมได้สร้างโปรแกรมตารางทำงาน ซูเปอร์แคลค์ (supercalc) เมื่อสร้างนั้นได้ทำบนระบบปฏิบัติงานแบบ CP/M และให้กับบริษัทออสบอร์น หลังจากนั้นก็เริ่มกระจายเข้าสู่คอมพิวเตอร์ยี่ห้ออื่น ๆ



3. ตารางทำงานมัลติแพลน

         ปี 2525 บริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ทางซอฟต์แวร์บริษัทหนึ่ง และประสบความสำเร็จทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์มากแล้วมากมาย เช่น ไมโครซอฟต์   แอสแซมเบลอร์ เป็นต้น ไมโครซอฟต์ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มตารางทำงาน  คือ มัลติแพลน (multiplan) ข้อดีของมัลติแพลน คือ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ได้ในเวลารวดเร็ว



4. ตารางทำงานโลตัส

         มีขนาดที่ใช้งานได้ทั้งสิ้น 256 สดมภ์ 8192 แถว ชื่อสดมภ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ชื่อแถวเป็นตัวเลข สร้างโดยบริษัท ไอบีเอ็ม


5. ตารางทำงานเอ็กเซล

         มีขนาดที่ใช้งานได้ทั้งสิ้น 256 สดมภ์ 65536 แถว ชื่อสดมภ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ชื่อแถวเป็นตัวเลข สร้างโดยบริษัท ไมโครซอฟต์




1.2. หลักการคำนวณบนตารางทำงาน
1.2.1 ขั้นตอนการคำนวณบนตารางทำงาน
การคำนวณค่าใด ๆ จากข้อมูลที่มีอยู่ในตารางทำงาน มีลำดับดังนี้
1. กำหนดเซลสำหรับเก็บผลลัพธ์ โดยการเลื่อนตัวชี้เซลไปอยู่ที่เซลนั้นแล้วคลิก
2. ใส่สูตรเข้าในเซลสำหรับเก็บผลลัพธ์ สูตรจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย =


 เครื่องหมาย/ฟังก์ชัน        ตัวอย่าง                                     ตัวอย่าง
+         บวก                           =A1+A2                      นำค่าในเซล A1 ลบกับค่าในเซล A2
-          ลบ                             =A1-A2                      นำค่าในเซล A1 คูณกับค่าในเซล A2
*         คูณ                            =A1*A2                      นำค่าในเซล A1 หารกับค่าในเซล A2
/          หาร                            =A1/A2=A1^A2         นำค่าในเซล A1 ยกกำลังด้วยค่าในเซล A2
^         ยกกำลังสอง              =A1^A2=A1^A2        นำค่าในเซล A1 ยกกำลังด้วยค่าในเซล A2
=SUMผลรวม                       =SUM(A1:A10)           ผลรวมของค่าในเซล A1 ถึง เซล A10
=AVERAGEค่าเฉลี่ย            =AVERAGE(A1:A10)  ค่าเฉลี่ยของค่าในเซล A1 ถึง เซล A10
=COUNTจำนวนเซล            =COUNT(A1:A10)   จำนวนเซลที่มีข้อมูลในเซล A1 ถึง เซล A10


จำนวนเซลที่มีข้อมูลในเซล A1 ถึง เซล A10
1. สูตรที่ใส่ในเซลจะปรากฏให้เห็นในช่องของแถบสูตร
2. ค่าที่เป็นผลลัพธ์ของสูตรจะปรากฏอยู่ในเซลสำหรับเก็บผลลัพธ์
3. กรณีที่นิพจน์มีหลายเครื่องหมาย ลำดับการคำนวณ เป็นดังนี้

ลำดับที่หนึ่ง คือ เครื่องหมายที่อยู่ในวงเล็บ
ลำดับที่สอง คือ ยกกำลัง
ลำดับที่สาม คือ คูณและหาร
ลำดับที่สี่ คือ บวกและลบ

         ส่วนการคำนวณของเครื่องหมายที่อยู่ในลำดับเดียวกัน จะคำนวณจากซ้ายไปขวาตามลำดับ ดังนี้ ถ้าต้องการคำนวณโดยใช้เครื่องหมายที่มีลำดับหลังก่อนให้ใส่วงเล็บส่วนนั้นไว้

1.2.2 การใส่ข้อมูลและสูตรลงในตารางทำงานสมมติ
         ลักษณะการทำงานของโปรแกรมตารางทำงาน จะมีการใส่ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในการประมวลผลลงในรูปตารางที่ผู้ใช้จะต้องกำหนดตำแหน่งของข้อมูลเพื่อคอมพิวเตอร์จะได้ทราบ ตำแหน่งของข้อมูลแล้วทำการประมวลผลตามคำสั่ง โดยมีลักษณะของตารางทำงานสมมติ ดังรูปที่ 1.8


ตัวอย่างการใส่ข้อมูลและสูตรลงในตารางทำงานสมมติ


ตัวอย่าง
ทัศนามีเงินอยู่ 500 บาท ซื้อเครื่องเขียนดังรายการต่อไปนี้ ปากกา 2 ด้ามราคาด้ามละ 10.00 บาท ไม้บรรทัด 1 อัน ๆ ละ 12.00 บาท ยางลบดินสอ 1 แท่ง ๆ ละ 6.00 บาท ดินสอ 2B 2 แท่ง ๆ ละ 15.00 บาท สมุด 5 เล่ม ๆ ละ 25.00 บาท ทัศนาใช้เงินไปทั้งหมดเท่าใด

การใส่ข้อมูลและสูตรในตารางทำงานสมมติ ได้ดังนี้



1.3. รูปแบบของงานบนตารางทำงาน

มี 3 รูปแบบ คือ งานด้านการคำนวณ เช่น การคำนวณ พื้นฐาน ฟังก์ชันด้านการเงิน งานบัญชี ฟังก์ชันด้านสถิติ ฟังก์ชันตรรกศาสตร์  ฟังก์ชันคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันวันเดือนปี



งานด้านการสร้างแผนภูมิและกราฟฟิก โปรแกรมตารางทำงานสามารถนำข้อมูลที่สร้างไว้มานำเสนอเป็นชารท์หรือกราฟแบบต่าง ๆ โดยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก แต่ให้ภาพหรือกราฟที่สวยงาม สามารถแทรกตัวอักษรศิลป์หรือแทรกภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

งานด้านฐานข้อมูล โปรแกรมตารางทำงานมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการ สร้างฐานข้อมูล จัดหมวดหมู่ข้อมูล จัดเรียงข้อมูล ค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้